วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ธุรกิจแชร์ลูกโซ่คืออะไร



 ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่
 จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่ดำเนินตามกฎหมาย


                 ธุรกิจประเภทนี้มีวิวัฒนาการมาจากแชร์ลูกโซ่ เพียงแต่ได้เปลี่ยนวิธีการและรูปแบบในการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการนำเอาสินค้าและบริการมาใช้บังหน้า ธุรกิจนี้จะมีการโฆษณาชวนเชื่อแอบอ้างบุคคลสำคัญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และอวดอ้างสรรพคุณสินค้าจนเกินจริงเพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้ราคาสินค้า สูงขึ้น ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะเน้นการหาสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายเป็น หลัก ไม่เน้นการขายสินค้า สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายตรงได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สมุนไพร อัญมณี และคอร์สการเรียนหลักสูตรต่างๆ
               กลุ่มเป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มักเป็นผู้ มีรายได้ปานกลาง หรือนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานทำ ผู้ประกอบการจะใช้วิธีการลงประกาศทางหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ รับสมัครงาน ในตำแหน่งต่างๆ แต่แท้จริงแล้วเมื่อมีใครหลงเข้าไปผู้ประกอบการจะให้สมัครสมาชิกเพื่อทำ ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ตามเงื่อนไขที่กำหนด

 ข้อสังเกตพฤติกรรมของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มีดังนี้

    1. ขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่เป็นธุรกิจแอบแฝงจากธุรกิจขายตรง (MLM) มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการชักชวนประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิก โดยมีสินค้าบังหน้าเท่านั้น สมาชิกที่เข้าร่วมธุรกิจจะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงตามเงื่อนไขที่กำหนด
    2.ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มีความแตกต่างจากธุรกิจขายตรง เนื่องจากธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะมีการเก็บค่าสมัครสมาชิกและ บังคับให้ซื้อสินค้าคุณภาพต่ำ ราคาสูง ไม่มุ่งเน้นการขายสินค้า แต่เน้นให้หาสมาชิกใหม่เพื่อรับผลตอบแทนจากการหาสมาชิกเพิ่ม แต่ธุรกิจขายตรงเน้นการขายสินค้าและสร้างองค์กร เพื่อให้เกิดการขายมากขึ้น รายได้เกิดจากยอดขายสินค้า
    3. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการ มีแม่ทีม มีสายงานการออกหาสมาชิกเพิ่ม หากสามารถหาสมาชิกได้มากจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับนั้นมาจากเงินของสมาชิกใหม่ ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้า

วิธีการรับมือกับธุรกิจแชร์ลูกโซ่

                อย่าตอบตกลงหรือจ่ายเงินค่าสมาชิกหรือค่าสินค้าให้แก่กลุ่มบุคคลนั้นๆ จนกว่าจะแน่ใจว่านั้นคืองานที่ท่านต้องการทำจริงและท่านไม่ได้ถูกหลอก
ลองค้นหาชื่อบริษัทนั้นๆในเว็บ www.google.com แล้วทำการศึกษาข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยท่านในการตัดสินใจว่างานหรือธุรกิจที่ท่านเลือก ตรงกับสิ่งที่ท่านต้องการจริงๆ แนะนำให้ค้นหา คำว่า แชร์ลูกโซ่ ธุรกิจหลอกลวง หรือชื่อบริษัทที่จะทำการสมัคร
 ทางเว็บไซท์หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่ กำลังหางานนะครับ ก่อนหางานควรหาข้อมูลของบริษัทนั้นๆให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเองครับ

ที่มา
ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
เรียบเรียงข้อมูลใหม่โดย http://www.buddyjob.com/
    จากบทความถ้าเพื่อนๆ ทำความเข้าใจดีๆ จะเข้าใจว่าอะไรคือลูกโซ่ อะไรคือเครือข่าย ได้ดีเลยครับ
ฝากเอาไว้ เป็นข้อมูล ไว้สำหรับตอบข้อสงสัยของผู้สนใจได้เป็นอย่างดีเลยครับ
แล้วก็เอาไว้เป็นข้อมูล สำหรับคนที่ชอบทำธุรกิจออนไลน์หลายๆตัว ไว้พิจารณากันครับ ว่าแบบไหนควรทำ แบบไหนไม่ควรทำ     เราไม่ควรไปตามกระแส พวกที่มาแรงๆ บางครั้งพวกนี้ก็อาศัยแรงโปรโมทจากการที่เค้าจำเป็นต้องหาสมาชิกเยอะๆแบบทันด่วน จึงเกิดการโปรโมทแบบบ้าระห่ำ
ถ้าพิจารณากันดีๆ แบบชอต ต่อ ชอตแล้ว บางทีพวกกระแสแรงๆ ก็อาจเป็นพวก ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ ก็เป็นได้ครับ

ผมเพิ่มข้อควรระวังให้อีกสักนิดล่ะกันครับ

1. ธุรกิจพวกนี้ มีสินค้าที่ไม่แน่นอน คือ โปรโมทว่าสินค้าเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่ยังไม่สามารถใช้ได้ตอนนี้?(แล้วจะใช้ได้ตอนไหน เหอๆ)
2. ไม่มีการซื้อซ้ำ รายได้หลักๆ มาจากการเงินค่าสมัครสมาชิกใหม่อย่างเดียวเพียวๆ
3. มีการกำหนดว่า ต้องหาสมาชิกให้ได้เท่านั้นเท่านี้ก่อนถึงจะมีสิทธิ์รับรายได้ แทนที่รายได้น่าจะมาจากการซื้อสินค้าของสมาชิกทันที ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ธุรกิจจำพวกนี้ เกิดการโปรโมทอย่างบ้ำระห่ำ เพื่อให้ได้สมาชิกใหม่ๆ แทนที่งานหลักๆของธุรกิจเครือข่าย น่าจะมาจากการขายสินค้าและสร้างองค์กร เพื่อให้เกิดการขายมากขึ้น รายได้เกิดจากยอดขายสินค้า

"ไม่เน้นขายของขายบริการแต่เน้นหาสมาชิกเยอะๆ" 

                ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เป็นการระดมทุนจากประชาชนที่แพร่หลายและขยายตัวออกไปรวดเร็วมาก เนื่องจากจ่ายผลประโยชน์ ตอบแทนสูงในระยะแรก จ่ายเงินตรงต่อเวลา และผู้ประกอบการมักอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ผลตอบแทน สูงในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ซื้อขายน้ำมัน ( แชร์ชม้อย ) ซื้อขายที่ดินราคาถูก ( แชร์เสมาฟ้าคราม ) แชร์นากหญ้า เป็นต้น
              ลักษณะของผู้ประกอบการ มีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยอาจตั้งมาในรูปบริษัทจำกัดมีหนังสือจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ โดยจะเริ่มจากการโฆษณาชักชวนประชาชน ให้มาร่วมลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ลงทุนซื้อขายน้ำมัน ที่ดิน เป็นต้น และอ้างว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ในอัตราที่สูง และจ่ายในเวลาอันรวดเร็ว เป็นเครื่องมือในการดึงดูดลูกค้า
ผู้สนใจจะร่วมลงทุนต้องจ่ายเงินลงทุนสูง โดยจะมีอัตราผลประโยชน์เป็นสัดส่วน และจะได้ผลประโยชน์ตอบแทน เมื่อหาสมาชิกมาร่วมลงทุนต่อกันไป จึงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนได้
โดยจะทำการหาสมาชิกเป็นทอดๆ เพื่อนำค่าสมัครสมาชิกหรือค่าซื้อสินค้ามาปันผลกัน ดังนั้นผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ จะต้องเสียเงินในอัตราที่สูง (ไม่ว่าจะเป็นค่าสมาชิก หรือ ค่าสินค้าต่างๆก็ตาม) และสมาชิกใหม่ก็จะต้องหาสมาชิกเพิ่มอีก(หลอกคนอื่นเพื่อจะได้เงินคืน) เพื่อที่ว่าจะได้ค่าสมาชิกจากสมาชิกใหม่ ยิ่งหาได้มากก็จะได้เงินคืนมามาก ยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะยิ่งได้ผลกำไรมากกว่าที่ลงทุนไป คนที่อยู่สูงๆก็จะยิ่งสบาย จนถึงจุดหนึ่งที่ในกลุ่มไม่สามารถนำเงินมาหมุนได้ ก็จะหนีหายไป ทิ้งไว้แต่เพียงหนี้สินให้กับคนที่อยู่ระดับล่างๆ